แนวทางในการพัฒนา



ขั้นตอนที่ 1
การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
(Project Identification and Selection)

ขั้นตอนการค้นหาและเลือกสรรโครงการที่ต้องการพัฒนา
1. ค้นหาระบบที่ต้องการพัฒนา
                จากการที่ได้สำรวจปัญหาแต่ละแผนกและปัญหาระหว่างแผนกสามารถเลือกระบบที่ต้องการพัฒนาได้ดังนี้
                1. ระบบการขาย

แนวทางเลือกเพื่อนำระบบใหม่มาใช้งานโดยมีแนวทางเลือกจำนวนทั้งสิ้น 3 ทางเลือก ดังนี้
  
ทางเลือกที่ 2 : ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้


การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
                ทางทีมงานได้ทาการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง


สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
                สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกซื้อ Software A มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด

ทางเลือกที่ 2 : ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้


การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
                ทางทีมงานได้ทาการประเมินผลแนวทางเลือกว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง


สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2

                สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ A มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
แนวทางเลือกที่ 3 : ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังตารางต่อไปนี้


การประเมินแนวทางเลือกที่ 3 ไม่มี ในที่นี้ไม่มีข้อเปรียบเทียบ
                สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 3 ทางทีมงานพิจารณาแล้วว่า มีขีดความสามารถที่จะพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของผู้ใช้งานตามที่จัดทำ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 6 เดือน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจำนวนเงินทั้งสิ้น 240,000 บาท (ค่าเงินเดือน ค่าอุปกรณ์ ค่าล่วงเวลา ค่าเบ็ดเตล็ด และค่าสำรองฉุกเฉิน )
เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้ง 3
                ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทาง จะนำ เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะผู้บริหารเพื่อพิจารณา เลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนา พร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสาม โดยมีรายละเอียดดังนี้


ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
                หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือก โดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหาร โดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) ดังตารางต่อไปนี้


สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
                ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ (In-House Development)เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของพนักงานภายในบริษัท พร้อมทั้งได้กำหนดมาตรการและมอบหมายแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง คอยควบคุมดูแลทีมงานพัฒนาให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ

เป้าหมาย
                นำระบบสาระสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบการขาย ซื้อ-ขายสินค้าของบริษัทเพื่อลดภาระของฝ่ายการขาย วัตถุประสงค์
                โครงการการพัฒนาระบบการขาย ซื้อ-ขาย สินค้าของบริษัท มีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาให้เป็นระบบงานขายที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ขอบเขตของระบบ
                โครงการพัฒนาระบบการการพัฒนาระบบการ ช่วยการซื้อ-ขายสินค้าของบริษัทได้มีการจัดทำขึ้นโดยการว่าจ้างบริษัทมารับผิดชอบโครงการ พร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-    ระบบจะต้องสามารถเรียกข้อมูลการซื้อ-ขายสินค้าของทางบริษัท
-    ระบบสามารถตรวจสอบการซื้อขายสินค้าได้
-    ช่วยการซื้อขายสินค้าของทางบริษัทได้สะดวก รวดเร็ว
-    สามารถตรวจเช็คสินค้าว่ามีเพียงพอกับการจำหน่ายสินค้าหรือไม่
-     ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
-     ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
-     ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน
-     ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
                ความต้องการในระบบ
                          ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
-    ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
-     สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ การซื้อขายสินค้า และตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้
-     สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
-     สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
-     การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่น ฝ่ายคลังสินค้า
                ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบ
-    บริษัทสามารถตรวจสอบแก้ไข รายรับ การซื้อขายสินค้า
-    บริษัทสามารถทราบยอดรายรับ-จ่ายของบริษัท
-    บริษัทมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้น
-    ขั้นตอนการทำงานของระบบการขายในบริษัทที่มีความรวดเร็ว
-    สั่งจอง-การซื้อขาย ชัดเจนและรวดเร็วในการทำงาน
-    สามารถจัดเก็บยอดรายรับ ของบริษัทได้รวดเร็วและถูกต้อง และมีเอกสารใบเสร็จยืนยันให้ลูกค้า
-    การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
-    ลดระยะเวลาในการทำงาน

  แนวทางในการพัฒนา
                การพัฒนาระบบของบริษัท อิชิไม่ตัน จำกัด เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของ ของแผนกการขายในส่วนของการทำระบบรายรับและการสั่งซื้อการขายสินค้าของบริษัท เพื่อลดภาระของฝ่ายการขายตามความต้องการในระบบที่ทีมงานได้รวบรวมจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และผ่านการอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้วจากนั้นจึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ
                1. การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
                2. การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
                3. การวิเคราะห์ระบบ
                4. การออกแบบเชิงตรรกะ
                5. การออกแบบเชิงกายภาพ
                6. การพัฒนาและติดตั้งระบบ
                7. การซ่อมบำรุงระบบ

ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection )
เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทางานขององค์กร ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือบริษัท อิชิไม่ตัน จำกัด ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
-จัดเก็บข้อมูลรายรับ- ซื้อขาย สินค้า
-การตรวจสอบการสั่งจองสินค้า
ขั้นตอนที่ 2 การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
                เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
                -เริ่มต้นทำโครงการ ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
                -กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบมาใช้
                -วางแผนการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์
                1. ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบ ดูว่าการทำงานของระบบการขาย มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบ และระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการสั่งซื้อสินค้า
                2. การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
                3. จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบเชิงตรรกะ
                เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน ซึ่งในการออกแบบระบบ ระบบงานที่ได้ในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ขบวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนที่ 5 การออกแบบเชิงกายภาพ
                ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบรายรับ การซื้อขายสินค้า ฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป
ขั้นตอนที่ 6 การพัฒนาและติดตั้งระบบ
                ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงาน อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทางานของบริษัทหรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
                · เขียนโปรแกรม
                · ทดสอบโปรแกรม
                · ติดตั้งระบบ
                · จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 7 การซ่อมบำรุงระบบ
                อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด
 แผนการดำเนินงานของโครงการ
                แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ รายรับ ระบบการขายสินค้า และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
                - ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
                - ประมาณการใช้ทรัพยากร
                - ประมาณการใช้งบประมาณ
                - ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน
ทีมงานรับผิดชอบโครงการ
                ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมาย คือ บุคลากรแผนกคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 คนจะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังต่อไปนี้
                - นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์ จัดทำเอกสารของระบบ ทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
                - โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ
ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
                1.เครื่องแม่ข่าย server  จำนวน 1 เครื่อง
                2.เครื่องลูกข่าย (Workstation)  จำนวน5 เครื่อง
                3.เครื่องพิมพ์ (Printer)  4 เครื่อง
                4. อุปกรณ์ต่อพวง 8 ชุด (ตามความเหมาะสม)
ประมาณการใช้งบประมาณ
                1. ค่าตอบแทนสำหรับทีมพัฒนาระบบ                          120,000  บาท
                2. ค่าอุปกรณ์ต่างๆในการดำเนินงาน                               75,000  บาท
                3. ค่าบำรุงรักษาระบบ                                                   35,000  บาท
                           รวม                                                                230,000 บาท

ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
                ระยะเวลาดำเนินการจัดทำระบบรายรับ-รายจ่าย ประมาณการว่าจะต้องใช้ระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่ เดือน มกราคม –มิถุนายน 2558 ซึ่งระยะเวลาที่ประมาณการนี้รวมเพื่อเวลาที่ต้องสูญเสียไป กรณีมีเหตุไม่คาดคิด

ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ
               
                เมื่อโครงการพัฒนา ระบบรายรับการซื้อสินค้า ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ดังนั้น จึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการสังเกตการณ์โดยสังเกตการณ์แบบไม่รู้ตัว
ออกสังเกตการณ์
                บุคคลผู้ที่ถูกสังเกตการณ์ คือบุคคลที่ทำหน้าที่เดินส่งเอกสารต่างในบริษัท โดยแต่ละแผนกอยู่ไกลกัน ข้อมูลและเอกสารของระบบงานเดิมที่รวบรวมได้ จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบ ด้วยวิธีการสังเกตการณ์ สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
ความต้องการในระบบใหม่
                -ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทางาน
                -สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ การซื้อขายสินค้า และตรวจสอบข้อมูลดั่งกล่าวได้
                -สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
                -สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
                -การเพิ่มประสิทธิภาพในการทางานของพนักงานทุกฝ่ายเช่น ฝ่ายคลังสินค้า

ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ

                แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ ระบบพัฒนาระบบงานซื้อขายสินค้า บริษัทธาราทิพย์ จำกัด ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่ (System Requirement Structuring)


อธิบาย Context Diagram
                จาก Context Diagram ของระบบการบริหารงาน บริษัท อิชิตัน จำกัด ซึ่งสัญลักษณ์ Process จะใช้แทนการทำงานทุกขั้นตอนของระบบการซื้อขายสินค้านี้ โดย External Agents ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ได้แก่ ผู้จัดการ แผนกการขาย External Agents ดังกล่าวกับระบบการซื้อขายสินค้า ทำให้ทราบโดยภาพรวมว่าระบบมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บนDataflow เข้าและออกระหว่าง External Agents และระบบ ได้ดังนี้

แผนกการขาย
                พนักงานจะมีหน้า เพิ่ม/ลบ/แก้ไข ข้อมูลสินค้า ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า เมื่อสำเร็จแล้ว ระบบจะทำการยืนยัน การเพิ่ม/ลบ/แก้ไข
ผู้จัดการ
                จะเรียกดูข้อมูลระบบซึ่งอาจจะดูมาจากรายงานจากแผนกการขายหรือดูในระบบ โดยในระบบจะมีข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า ข้อมูลการสั่งซื้อ และเมื่อข้อผิดพลาดหรือต้องแก้ไข จะส่งกลับไปให้พนักงานแผนกการขายทำการแก้ไข แล้วดาเนินงานไปยังขั้นตอนต่อไป
Data flow Diagram Level 0



อธิบาย Data flow Diagram Level 0                จาก Context Diagram สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนั้นจึงแยก Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

Process 1.0
                พนักงานหรือผู้จัดการทำการ Login เข้าสู่ระบบ ระบบทาลำการตรวจข้อมูลว่าตรวจกับฐานมูลหรือไม่ถ้าตรงกันกันจะสามารถเข้าสู่ระบบได้
Process 2.0
                พนักงานแผนกการขาย ทำการ เพิ่มข้อมูลลูกค้า,ข้อมูลสินค้า,ข้อมูลการขายสินค้า เข้าสู่ระบบ และทำงานบันทึกข้อมูล ลงฐานข้อมูลของแต่ละส่วน เช่น ข้อมูลลูกค้า เข้า ฐานข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการซื้อขาย เข้าฐานข้อมูลการซื้อขาย และพนักงานสามารถเรียกดูข้อมูลสินค้าได้โดยจะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล
Process 3.0
                ผู้จัดการสามารถเรียกดูข้อมูลทั้งหมดจากระบบ และระบบจะส่งข้อมูลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการซื้อขาย ข้อมูลลูกค้า โดยหากพบข้อผิดพลาด จะส่งกลับไปให้พนักงานทำการแก้ไข



อธิบาย Data flow Diagram Level 1
                จาก Context Diagram สามารถแบ่งขั้นตอนการทางานภายในระบบออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนั้นจึงแยก Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Process 1.1
                พนักงานหรือผู้จัดการเข้าสู่ระบบพิมพ์ ข้อมูล User เพื่อเข้าสู่ระบบ Login ระบบทำการตรวจเช็ค user , password จากฐานข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่ และระบบจะส่งการยืนยันการเข้าสู่ระบบ
Process 2.1
                พนักงานแผนกการขาย นำข้อมูลลูกค้าเข้าสู่ระบบ ระบบทำการบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล
Process 2.2
                พนักงานแผนกการขายนำข้อมูลการซื้อขายสินค้าเข้าสู่ระบบ ระบบทำการบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล
Process 2.3 พนักงานแผนกการขายเรียกดูข้อมูลสินค้า ระบบทำการดึงข้อมูลสินค้าจากฐานข้อมูล
Process 3.1ผู้จัดการเรียกดูข้อมูล ลูกค้า ข้อมูลสินค้า ข้อมูลสินค้า โดยระบบจะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล

โครงสร้างตารางฐานข้อมูลของแผนการขายมีดังนี้

ตารางลูกค้า



ตารางสินค้า


ตารางผู้ใช้งาน


ตารางการสั่งซื้อสินค้า



ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบหน้าต่าง Interface


หน้าเข้าสู่ระบบ เป็นหน้าที่ พนักงานแผนกการขาย ต้องเข้าสู่ระบบเพื่อทำการ เพิ่ม/แก้ไข/ลบ/ข้อมูลสินค้า,ข้อมูลลูกค้า
ส่วนที่ 1 คลิกเพื่อทำการใช้รหัสผู้ใช้
ส่วนที่ 2 คลิกเพื่อทำการใส่รหัสผ่านผู้ใช้งาน
ส่วนที่ 3 เมื่อทำตามส่วนขั้นตอนที่1-2 เสร็จให้กดปุ่มเข้าสู่ระบบ จะไปยังหน้า ระบบการขาย
ส่วนที่ 4 ถ้าไม่ต้องเข้าสู่ระบบก็ กดออกจากระบบโปรแกรมก้จะปิดอัตโนมัติ

เมื่อเข้าสู่ระบบผิดพลาด จะแสดงหน้าต่างดังนี้


เมื่อพนักงานเข้าสู่ระบบผิดพลาด ส่วนการทำงานหน้านี้มี 1 ส่วน
ส่วนที่เข้าสู่ระบบใหม่โดย เมื่อคลิกแล้วระบบจะทำการย้อนกลับไป หน้า Login ใหม่อีกครั้ง

เมื่อเข้ามายัง  หน้าเข้าสู่ระบบได้


เมื่อพนักงานเข้าสู่ระบบแล้ว โปรแกรม 3 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะทำงานดังนี้
ส่วนที่1 คลิกเพื่อเข้าไปสู่หน้า ของข้อมูลลูกค้า
ส่วนที่2 คลิกเพื่อเข้าไปสู่หน้า ของข้อมูลการซื้อขาย
ส่วนที่ 3 คลิกเข้าไปหน้าสินค้าทั้งหมด
ส่วนที่ 4 คือออกจากระบบ

หน้าข้อมูลลูกค้า


หน้าส่วนของลูกค้ามีส่วนการทำงาน 6 ส่วนดังนี้
1.การเพิ่ม/บันทึกข้อมูล เมื่อพนักงานต้องการเพิ่มข้อมูลค้าก็กรอกข้อมูล ลงในช่อง แล้วทำการกดเพิ่มข้อมูลก็จะทำการจัดเก็บ
2.การแก้ไขข้อมูล ถ้าเกิดเหตุข้อมูลผิดพลาดพนักงานจำเป็นต้องแก้ไขข้อมูล สามารถทำได้โดย กรอกรหัสลูกค้าที่จะทำการแก้ไขแล้วคลิก ที่ ปุ่มค้นหา ระบบก็จะดึงข้อมูลลูกค้าออกมาและทำการแก้ไขเมื่อสำเร็จให้พนักคลิกปุ่มแก้ไขซ้ำเพื่อทำการบันทึกข้อมูล
3.การลบข้อมูล ในส่วนนี้เมื่อพนักพนักงานต้องการลบชื่อลูกค้าก็ทาชำในลักษณะเดียวกับการแก้ไขข้อมูลโดยการค้นหารหัสลูกค้า แล้วทำการลบได้ โดยคลิกปุ่มลบ
4.ค้นหา/เรียกดู เมื่อพนักงานต้องเรียกดูข้อมูลค้า หรือต้อง แก้ไขข้อมูล ลบข้อมูล
5.พิมพ์ ในส่วนนี้จะเป็น พิมพ์ชื่อลูกค้า โดยเมื่อคลิกแล้วจะแสดงลักษณะดังรูป


6. ย้อนกลับ เป็นปุ่มพนักงานทำงานเสร็จสินแล้ว ย้อนกลับเมนูหลักเพื่อ ออกจากระบบ หรือ ทำงานในส่วนอื่น


หน้าส่วนของสินค้ามีส่วนการทำงาน 2 ส่วนดังนี้
             1. ค้นหาสินค้าโดยการป้อน รหัสสินค้า แล้วค้นหาก็จะแสดงข้อมูล ของสินค้าขึ้นมาเพื่อให้ทราบว่า รายการสั่งซื้อ ที่ลูกค้าสั่งมีจำนวนสินค้าหรือไม่
2. ย้อนกลับ เป็นปุ่มพนักงานทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ย้อนกลับเมนูหลักเพื่อออกจากระบบ หรือ ทำงานในส่วนอื่น



ขั้นตอนที่ 6
การพัฒนาและติดตั้งระบบระบบ
                เอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมของระบบงานซื้อขายสินค้า เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-แนะนำ โปรแกรมระบบรายรับ-รายจ่าย
-โปรแกรมระบบงานซื้อขายสินค้า เป็นโปรแกรมที่ทำซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด 2 ระบบ ได้แก่ระบบลูกค้า กับ ระบบข้อมูลการซื้อขาย
การติดตั้งระบบ ทีมงานเลือกที่จะติดตั้งระบบแบบขนาน คือการใช้ระบบใหม่ และ ระบบเก่า ไป พร้อมๆ กัน เพราะ ทีมงานที่พัฒนาระบบได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินงาน เพราะ ถ้าหากวางระบบใหม่ทั้งหมดทีเดียว อาจทาให้การดำเนินงานเกิด การขัดข้องได้ จึงเลือกที่จะติดตั้งระบบแบบขนาน


ขั้นตอนที่ 7
การซ่อมบำรุง
                การซ่อมบำรุงนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้างจะอยู่ในความดูแลของผู้พัฒนาระบบมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่องเมื่อระบบมีปัญหาทางผู้พัฒนาระบบจะทำการซ่อมแซมระบบอย่างรวดเร็วหลังเกิดปัญหา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น