บริษัท อิชิตุง จำกัด
ประวัติความเป็นมา
บริษัท อิชิตุง กรุ๊ป จำกัด เริ่มต้นจากการก่อตั้งในชื่อจดทะเบียนว่า บริษัท ตุง จำกัด เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2010 โดย นักธุรกิจระดับพันล้านที่สร้างผลงานด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อประกอบธุรกิจเครื่องดื่ม ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ น้ำผลไม้ผสมดับเบิลดริงก์และชาเขียวอิชิตุง ทั้งนี้ ได้ประกาศคํามั่นสัญญา ในการ ดําเนินงานของบริษัท จึงตั้งเป้าไว้ที่การเป็น “ผู้ให้” ด้วยการแบ่งเงินปันผลของบริษัทในส่วนตัวให้กับมูลนิธิตันปัน 50% ตั้งแต่ปีแรกที่ดำเนินการ จนกระทั่ง อายุครบ 60 ปี คือตั้งแต่วันที่ 9 เดือน9 พ.ศ. 2562 เขาจะเพิ่มเงินบริจาคไม่ต่ำกว่า 90% ให้กับมูลนิธิตันปันตลอดไป เพื่อพัฒนาการศึกษาและสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม
ข้อมูลบริษัท
บริษัท อิชิตุง กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) เปิดรับผู้ร่วมงานรุ่นใหม่ไฟแรง มีความมุ่งมั่นตั้งใจเกินร้อย ร่วมสร้างประวัติศาสตร์แห่งความสำเร็จ วัดกันทั้งฝีมือ ทัศนคติที่ดีเกินร้อย และความพร้อมที่จะก้าวไปกับ คุณตัน อิชิตุง เรายังคงมองหาและรอคอยคนที่ใช่ หากคุณคิดว่า คุณมี DNA ตรงกับเรา พร้อมจะเรียนรู้ มีความสุข และ สนุกในการทำงานอยู่เสมอ มาร่วมงานกับเรา เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท
สถานที่ตั้ง
ตุงแลนด์: อิชิตุง นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ 3 เลขที่ 111/1 หมู่ที่ 4 ตําบล อุทัย อําเภอ อุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13210
วัตถุประสงค์ของบริษัท
- เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
- เพื่อเพิ่มกำไรให้กับบริษัท
- เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับบริษัท
- เพื่อทำให้ลูกค้าพึงพอใจในการทำงาน บริการ รวมถึงพึงใจตัวผลิตภัณฑ์ของบริษัท
เป้าหมายของบริษัท
สร้างผลกำไรให้ได้สูงสุด และคืนกำไรให้กำสังคมด้วยการแบ่งเงินปันผลของบริษัทในและเงินส่วนตัวส่วนตัวให้กับมูลนิธิตันปัน 50% เพื่อพัฒนาการศึกษาและสิ่งแวดล้อมให้กับสังคม
นโยบายบายของบริษัท
· นโยบายและวิธีการดูแลผู้บริหารในการนำข้อมูลภายในบริษัทไปใช้
บริษัทมีนโยบายการป้องกันการนำข้อมูลภายในบริษัทไปใช้ โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางการเงินของบริษัท
· นโยบายในการพัฒนาบุคลากรของบริษัท
บริษัทมีนโยบายในการพัฒนาบุคลากรของบริษัทเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรซึ่งจะส่งผลต่อศักยภาพในการแข่งขันและผลักดันให้องค์การบรรลุสู่เป้าหมายได้อย่างยั่งยืน
โครงสร้างองค์กร
หน้าที่และปัญหาแต่ละแผนก
ประกอบด้วย
1. แผนกบุคลากร มีหน้าที่ดังนี้
ทำหน้าที่ ในการจัดการ ดูแล งานด้านการบริหารงานบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับสมัครงาน การดูแลสวัสดิการความเป็นอยู่ของพนักงานการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน การลงโทษพนักงาน และการดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน
ปัญหาของแผนกบุคลากร
1) เอกสารมีจำนวนมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
2) การสืบค้นประวัติและแก้ไขประวัติของพนักงานทำได้ยาก
3) ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
4) การจัดสรรเงินเดือนให้พนักงานได้ยากลำบาก เพราะแต่ละคนเงินเดือนไม่เท่ากัน
5) มีบุคลากรไม่เพียงพอต่อตำแหน่งงาน
2.แผนกจัดซื้อ มีหน้าที่ดังนี้
มีหน้าที่ วางแผนและตรวจสอบในระบบการซื้อสินค้าทั้งหมด จัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตสินค้า และยังตรวจสอบจำนวนสินค้าในคลังสินค้า เพื่อที่ต้องสั่งสินค้าเพิ่ม จัดหาวัตถุดิบต่างๆ และทำเอกสารการเบิกจ่ายออกบิลของสินค้า
ปัญหาของแผนกจัดซื้อ
1) ยากต่อการตรวจสอบยอดการเบิกจ่าย
2) ยากต่อการตรวจเช็คจำนวนสินค้า วัตถุดิบ ที่คงเหลือในคลัง
3) การสั่งซื้อสินค้าอาจจะเกิดการผิดพลาด หรือได้สินค้ามาไม่ตรงตามความต้องการ
4) บิลสินค้าอาจจะไม่ถูกต้องตามต้องการ ก่อให้เกิดความเสียหาย
5) จัดหาวัตถุดิบไม่ได้ตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ
3.แผนกการขาย/การตลาด มีหน้าที่ดังนี้
- วิเคราะห์ วางแผน กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พร้อมทั้งรายชื่อ ลูกค้าเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม และกำหนดเป้ายอดขาย ในแต่ละกลุ่มลูกค้า ที่มีความเป็นไปได้ ให้กับฝ่ายขายไปดำเนินการ
- วิเคราะห์ วางแผน จัดการ ให้มีการส่งเสริมการขาย ด้วยการวางแผน เข้าร่วม โครงการ กิจกรรม การประกวดผลงาน หรือผลิตภัณฑ์ ที่หน่วยงานหรือองค์กร ต่างๆจัดให้มีขึ้น ในแต่ละปี
- วิเคราะห์ วางแผน และดำเนินการสร้าง สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ และ เผยแพร่ โฆษณา PRไปยังสื่อต่างๆ
- วิเคราะห์ วางแผน กำหนดเป้าหมาย และดำเนินการสร้าง ตัวแทนจำหน่ายและ ผู้สร้างระบบ(Implementor) ในแต่ละช่องทางจัดจำหน่าย สำหรับลูกค้า กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ได้ทำหน้าที่ กำหนดกลุ่มเป้าหมายลูกค้า กำหนด ยอดขายในลูกค้าแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ฝ่ายการขายดำเนินการต่อ ส่งเสริมการขายสินค้า
ปัญหาของแผนกการขาย/การตลาด
1) ตรวจสอบสินค้าภายในคลังได้ยากว่าสินค้าคงเหลือเท่าไร
2) เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระบบระเบียบ
3) ตรวจสอบยอดขายสินค้าเป็นไปได้ยาก
4) มีคู่แข่งทางการตลาดมากขึ้น ทำให้ยากต่อการขายตามเป้าหมายใช้เงินลงทุนสูงในการโฆษณาสินค้า เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก
4.แผนกการเงินและการบัญชี
ทำหน้าที่ ดูแลการเงินของบริษัท ตรวจสอบการใช้จ่าย รายรับ รายจ่ายของบริษัท รายละเอียดของการใช้เงินแต่ละแผนก จัดทำบัญชีต่างๆของบริษัท
ปัญหาของแผนกการเงินและการบัญชี
1) เอกสารมีจำนวนมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
2) เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3) เสี่ยงต่อการปลอมแปลงเอกสาร อาจเกิดการทุจริตได้ง่าย
4) ไม่สามารถตรวจสอบผลกำไรขาดทุนและอาจเกิดข้อผิดพลาดในการทำบัญชี
5.แผนกประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ดังนี้
ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในของบริษัท รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าและพัฒนา และติดตามลูกค้าทางโทรศัพท์และทางจดหมายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบข่าวสารของบริษัท
ของแผนกประชาสัมพันธ์
ปัญหาของแผนกประชาสัมพันธ์
1) การติดต่อสื่อสารขัดข้องเพราะลูกค้ามีจำนวนมากและบางครั้งลูกค้าได้มีการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่แจ้งให้ทราบทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้
2) สื่อสารกับลูกค้าไม่เข้าใจ
3) การประชาสัมพันธ์อาจทำได้ไม่ทั่วถึง
6.แผนกผลิตสินค้า มีหน้าที่ดังนี้
มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามนโยบายและหน้าที่ที่มอบหมาย สามารถทำงานกับเครื่องจักรปัญหา ได้เบื้องต้น พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้เบื้องต้น และต้องเข้าใจถึงกระบวนการการทำงานในแผนกนั้นๆ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเอง รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างกระบวนการผลิต
ปัญหาของแผนกผลิตสินค้า
1) มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจนจึงมีของเสียในกระบวนการผลิต
2) แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
4) มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
5) มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า และไม่เพียงพอต่อการผลิตสินค้า
7. แผนกควบคุมคุณภาพ มีหน้าที่ดังนี้
รับผิดชอบในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและวัตถุดิบแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามมาตรฐานเรื่องคุณภาพที่บริษัทกำหนด โดยร่วมกำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้ากับผู้บังคับบัญชา และให้ความสำคัญกับ กระบวนการตรวจสอบสินค้าทุกระบวนการผลิต
ปัญหาของแผนกควบคุมคุณภาพ
1) สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
2) การตรวจสอบวัตถุดิบไปไปได้ยาก
3) มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด
8. แผนกออกแบบผลิตภัณฑ์ มีหน้าที่ดังนี้
รับผิดชอบในการออกแบบขวดบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่จะใช้บรรจุสินค้าเพื่อให้มีความโดดเด่น และดึงดูดให้ลูกค้าสนใจในตัวสินค้า
ปัญหาของแผนกออกแบบผลิตภัณฑ์
1) ออกแบบไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
2) ออกแบบตัวผลิตภัณฑ์อาจไม่ไปไปตามที่ต้องการของฝ่ายการตลาด
9.แผนกคลังสินค้า มีหน้าที่ดังนี้
ทำหน้าที่รับสินค้า ตรวจสอบจำนวน แยกแยะสินค้า เมื่อทางแผนกผลิต ทำผลิตภัณฑ์สำเร็จ ฝ่ายนี้ จะมีการบรรจุ จัดทำป้ายบอกผลิตภัณฑ์
ปัญหาของแผนกคลังสินค้า
1) เกิดการผิดพลาดในการเช็คสต็อก
2) บรรจุภัณฑ์มีร่องรอยการเสียหาย
3) การจัดเก็บสินค้าไม่เป็นระเบียบยากต่อการค้นหา
4) เกิดอุบัติเหตุในการเช็คสต็อกทำให้สินค้าเสียหาย
ปัญหาระหว่างแผนก
ปัญหาระหว่างแผนกการขายกับแผนกคลังสินค้า
- จำนวนของที่ขายออกไป ไม่ตรงกับบัญชีของในแผนกคลังสินค้า
-จะเกิดการซื้อของมาเกินจำนวนที่การคลังระบุและเกินกว่าการขาย
- จำนวนของที่ขายออกไป ไม่ตรงกับบัญชีของในแผนกคลังสินค้า
-แผนกการขายไม่แจ้งจำนวนสินค้าให้แก่แผนกผลิตทำให้แผนกคลังสินค้าไม่ทราบจำนวนของที่เหลืออยู่
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตสินค้ากับแผนกควบคุมคุณภาพ
- ผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่แผนกควบคุมคุณภาพกำหนดไว้
ปัญหาระหว่างแผนกออกแบบผลิตภัณฑ์กับแผนกจัดซื้อ
-จัดซื้อของเกินความจำเป็นในการออกแบบ
ปัญหาระหว่างแผนกจัดซื้อกับแผนกการขาย/การตลาด
-แผนกจัดซื้อของต่างๆไม่สมดุลกับแผนกการขาย
ปัญหาระหว่างแผนกจัดซื้อกับแผนกคลังสินค้า
-แผนกจัดซื้อไม่ทราบยอดสินค้าในคลัง
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับประชาสัมพันธ์
-แผนกประชาสัมพันธ์โปรโมทสินค้าไม่สอดคล้องกับการตลาด
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตสินค้ากับแผนกจัดซื้อ
-แผนกจัดซื้อไม่จัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตให้แก่แผนกผลิตสินค้า
-แผนกจัดซื้อ จัดซื้อวัตถุดิบไม่ตรงตามความต้องการของแผนกผลิตสินค้า
ปัญหาระหว่างแผนกจัดซื้อกับแผนกการเงินและการบัญชี
-การเบิกเงินในการจัดซื้อมีความล้าช้า
-แผนกการเงินและการบัญชีไม่ทราบยอดที่แน่นนอนในการจัดซื้อ
ปัญหาระหว่างแผนกบุคลากรกับแผนกการเงินและการบัญชี
-แผนกการเงินและการบัญชีจ่ายเงินเดือนไม่ตรงกับการทำงานของพนักงาน
ปัญหาระหว่างแผนกการเงินและการบัญชีกับแผนกการ
-การเงินจะทำยอดบัญชีผิดหากการขายส่งยอดขายมาผิด
-การเงินจะไม่สามารถสรุปยอดเงินได้ หากการขายไม่แจ้งยอดมาให้
สรุปปัญหาทั้งหมด
1. เอกสารมีจำนวนมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
- เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
- ตรวจสอบสินค้าภายในคลังได้ยากว่าสินค้าคงเหลือเท่าไร
- ยากต่อการตรวจเช็คจำนวนสินค้า วัตถุดิบ ที่คงเหลือในคลัง
- ตรวจสอบยอดขายสินค้าเป็นไปได้ยาก
- เสี่ยงต่อการปลอมแปลงเอกสาร อาจเกิดการทุจริตได้ง่าย
- ยากต่อการตรวจสอบยอดการเบิกจ่าย
- การสืบค้นประวัติและแก้ไขประวัติของพนักงานทำได้ยาก
- บิลสินค้าอาจจะไม่ถูกต้องตามต้องการ ก่อให้เกิดความเสียหาย
- ไม่สามารถตรวจสอบผลกำไรขาดทุนและอาจเกิดข้อผิดพลาดในการทำบัญชี
- ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
- การสั่งซื้อสินค้าอาจจะเกิดการผิดพลาด หรือได้สินค้ามาไม่ตรงตามความต้องการ
- การจัดสรรเงินเดือนให้พนักงานได้ยากลำบาก เพราะแต่ละคนเงินเดือนไม่เท่ากัน
- สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
- ออกแบบไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
- มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
- ออกแบบตัวผลิตภัณฑ์อาจไม่ไปไปตามที่ต้องการของฝ่ายการตลาด
- มีคู่แข่งทางการตลาดมากขึ้น ทำให้ยากต่อการขายตามเป้าหมายใช้เงินลงทุนสูงในการ โฆษณาสินค้า เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก
- การติดต่อสื่อสารขัดข้องเพราะลูกค้ามีจำนวนมากและบางครั้งลูกค้าได้มีการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่แจ้งให้ทราบทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้
- แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
- การตรวจสอบวัตถุดิบไปไปได้ยาก
- มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจนจึงมีของเสียในกระบวนการผลิต
- มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า และไม่เพียงพอต่อการผลิตสินค้า
- มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด
- การประชาสัมพันธ์ทำได้ไม่ทั่วถึง
- มีบุคลากรไม่เพียงพอต่อตำแหน่งงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น